ผู้อ่านสวรรค์นิวส์และสมาชิกสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครสวรรค์…………………………………………………….. @คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน ได้แก่ นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) และประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และนายผยง ศรีวณิช ประธานกรรมการสมาคมธนาคารไทย พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร กกร. เข้าพบนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและคณะ เพื่อหารือและนำเสนอข้อเสนอสมุดปกขาว กกร. แนวทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ณ ห้องสีม่วง ตึกไทยคู่ฟ้า ชั้น 1 ทำเนียบรัฐบาล
กกร. ได้นำเสนอข้อเสนอ 4 ด้าน ได้แก่
(1) แนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ เช่น การลดราคาพลังงานและปรับโครงสร้างราคาพลังงาน ตลอดจนผลักดันให้จัดตั้ง กรอ.พลังงาน และเสนอให้ภาครัฐเร่งออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและมาตรการเพื่อลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชน
(2) การช่วยเหลือธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) โดยยกระดับสู่ Smart SME ผ่านนโยบาย 4 Go อาทิ Go Digital & AI นำเทคโนโลยีดิจิทัล และ AI มาช่วยเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจ Go Innovation ส่งเสริมให้เข้าถึงนวัตกรรม Go Global ขยายโอกาสในตลาดต่างประเทศ และ Go Green เตรียมความพร้อมพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน ESG รวมทั้งการปรับปรุงกฎหมายและขั้นตอนที่ไม่จำเป็น (Ease of Doing Business)
(3) การบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพ ด้วยการบูรณาการในหน่วยงานภาครัฐในการบริหารจัดการน้ำและพัฒนาระบบแจ้งเตือนแบบ Real Time รวมถึงการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างความต้องการน้ำและการจัดหาน้ำให้เหมาะสม
(4) แนวทางในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย โดยเฉพาะการปกป้องผลประโยชน์ของอุตสาหกรรมภายในประเทศจากสินค้านำเข้าที่ไม่มีคุณภาพและการทุ่มตลาด พร้อมกับส่งเสริมสินค้าที่ผลิตในประเทศและสินค้าที่ได้รับการรับรอง Made in Thailand (MiT) รวมทั้งส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมยานยนต์เครื่องยนต์สันดาปไปสู่ยานยนต์แห่งอนาคต และการส่งเสริมเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) เป็นต้น
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีรับทราบข้อเสนอสมุดปกขาวของ กกร. โดยจะนำข้อเสนอมาพิจารณาเป็นเรื่องๆ อีกครั้ง และเห็นชอบให้มีการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ (กรอ.) โดยจะจัดประชุมทุก 6 เดือน เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยต่อไป
…………………………………………………….. @ พบกับบริการฟรี!! สำหรับสมาชิกสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และสมาชิก GS1 เปิดหน้าร้านบน FTIeBusiness.com ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย!
FTIeBusiness คืออะไร? FTIeBusiness คือ platform B2B ภาคอุตสาหกรรมไทยที่ใหญ่ที่สุดซึ่งจัดทำโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
FTIeBusiness ดีอย่างไร? *มีโรงงานเปิดหน้าร้านค้าทั่วประเทศกว่า 5,500 ร้านค้า *ยอดเสนอซื้อเสนอขายกว่า 1,000 ล้านบาทต่อปี *สถิติการเข้าชมกว่า 50,000 วิวต่อเดือน *พร้อมวิดีโอออนไลน์สอนขั้นตอนในการจัดการร้านค้าแบบมืออาชีพ ตอบสนองทุกฟังก์ชั่น
สมัครเปิดร้านค้าเลย https://ftiebusiness.com/register.php?PPID=1730256332 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line OA : @icticlub หรือ https://lin.ee/b1JqyoV
……………………………………. @ ยกระดับธุรกิจ พิชิตการขายภาครัฐด้วย “ใบรับรอง MiT” พร้อมทุนสนับสนุนจาก สสว. SMEs ได้ทั้งแต้มต่อและส่วนลด ผู้ประกอบการที่ค้าขายกับภาครัฐที่ต้องการเพิ่มแต้มต่ออีก 5% สามารถขอรับรองสินค้า Made in Thailand (MiT) โดยเข้าร่วมโครงการ “SME ปัง ตังได้คืน” ภายใต้โครงการของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ผ่านระบบ BDS รับเงินสนับสนุนค่าบริการและออกใบรับรอง MiT สูงสุด 80% (มูลค่าสูงสุดต่อราย 12,000 บาท) ระยะเวลาใช้สิทธิ์ในการดำเนินงานตั้งแต่วันนี้ – 31 สิงหาคม 2568 นับตั้งแต่วันสมัครแพ็คเกจ SMEs สนใจขึ้นทะเบียนโครงการ “SME ปัง ตังได้คืน”ได้ที่ https://bds.sme.go.th สามารถขอใบเสนอราคาได้ที่ https://bds.sme.go.th/Service/Detail/514 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม การออกใบรับรอง MiT คุณนุชเนตร โทร. 02-345-1022 , 1021 ,1100 ,1244 หรือ Line : @mitofficial
……………………………………. @กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และ 10 สมาคมเหล็ก ร่วมหารือปัญหาวิกฤตอุตสาหกรรมเหล็กกับนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อหาแนวทางแก้ไขและพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กให้ยั่งยืน ณ กระทรวงอุตสาหกรรม
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมให้ความสำคัญต่อการรักษาและพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กของประเทศไทย โดยอุตสาหกรรมเหล็กเปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของระบบอุตสาหกรรม เพราะเหล็กเป็นวัตถุดิบที่นำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ได้แก่ ก่อสร้าง รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักรกล เฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น โดยหลายประเทศต่างปกป้องอุตสาหกรรมเหล็กภายในประเทศเพื่อรักษาความมั่นคงแห่งชาติ แต่ปัจจุบันโลกเผชิญวิกฤตกำลังการผลิตเหล็กของโลกล้นเกินความต้องการใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศจีนซึ่งประสบปัญหาเศรษฐกิจและธุรกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ถดถอย ส่งผลให้ความต้องการใช้เหล็กภายในประเทศของจีนลดลง ในขณะที่ผู้ผลิตเหล็กในจีนยังคงผลิตเหล็กในสัดส่วนสูงมากราวร้อยละ 58 ของการผลิตเหล็กของทั้งโลก จีนจึงมุ่งส่งออกสินค้าเหล็กไปยังภูมิภาคหรือประเทศที่มีช่องโหว่ ซึ่งจีนสามารถทุ่มตลาดได้ โดยในช่วง 9 เดือนแรก จีนสามารถส่งออกสินค้าเหล็กแล้ว 81 ล้านตัน และคาดว่าทั้งปี 2567 จีนจะส่งออกสินค้าเหล็กมากที่สุดในรอบ 8 ปี ปริมาณสูงถึง 109 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 21 จากปีก่อนหน้า โดยสินค้าเหล็กจากจีนที่ส่งมายังประเทศไทยปีนี้ มีแนวโน้มปริมาณมากกว่า 5.1 ล้านตัน และครองส่วนแบ่งปริมาณเหล็กนำเข้ามากที่สุดร้อยละ 44 ส่งผลให้ผู้ผลิตเหล็กในไทยมีการใช้กำลังการผลิตถึงขั้นวิกฤตต่ำกว่าร้อยละ 30 จนหลายโรงงานเหล็กต้องทยอยปิดกิจการและเลิกจ้างแรงงานไป ดังนั้น กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก ส.อ.ท. และ 10 สมาคมเหล็ก จึงได้เสนอ 7 แนวทางบรรเทาวิกฤตอุตสาหกรรมเหล็ก ดังนี้
- การห้ามตั้งและห้ามขยายโรงงานเหล็กเฉพาะประเภทที่มีกำลังการผลิตมากเกินความต้องการใช้ภายในประเทศไทย ได้แก่ โรงงานเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตหรือเหล็กแท่งเล็กสำหรับเหล็กเส้นเสริมคอนกรีต และโรงงานผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อน เป็นต้น
- การส่งเสริมให้โครงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐใช้สินค้าเหล็กในประเทศที่ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวตั้งแต่ระดับ 4 ขึ้นไป เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนปรับปรุงเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มุ่งสู่เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero)
- การเร่งกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) เหล็กโครงสร้างสำเร็จรูป
- การสงวนเศษเหล็ก เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าเหล็กในประเทศ
- การจัดทำนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมจัดการซากรถยนต์ เพื่อให้มีการบริหารจัดการและสามารถนำวัสดุต่างๆ มาแปรรูปใช้ใหม่ (Recycle) ไห้เกิดประโยชน์สูงสุด
- การจัดทำนโยบายส่งเสริมการใช้สินค้าที่ได้รับการรับรองจาก ส.อ.ท. ว่าผลิตในประเทศไทย (Made in Thailand หรือ MiT) ไม่เพียงแค่เฉพาะการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐเท่านั้น โดยขยายไปยังโครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (Public – Private Partnership หรือ PPP) และโครงการก่อสร้างของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ด้วย
- การสนับสนุนให้ใช้มาตรการทางการค้าต่างๆ โดยเข้มข้นขึ้นตามสถานการณ์และทันท่วงที เนื่องจากปัจจุบัน ประเทศไทยมีการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-Dumping หรือ AD) มาตรการตอบโต้การหลบเลี่ยง (Anti-Circumvention หรือ AC) กับสินค้าเหล็กบางประเภทเท่านั้น โดยไม่มีการใช้มาตรการตอบโต้การอุดหนุน (Countervailing Duty หรือ CVD) และมาตรการปกป้องการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น (Safeguard หรือ SG) แต่อย่างใด ในขณะที่ประเทศไทยยังคงถูกจีนส่งสินค้าเหล็กมาทุ่มตลาดปริมาณเฉลี่ยกว่า 4.2 แสนตันต่อเดือน
ทั้งนี้ นายเอกนัฏ ได้รับทราบข้อเสนอดังกล่าวและยืนยันว่าอุตสาหกรรมเหล็กเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมของไทยที่ต้องสนับสนุนด้วยมาตรการต่างๆ อย่างทันท่วงที โดยกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กก็ต้องมีการปรับตัว เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนและประโยชน์ของประเทศชาติด้วย โดยข้อเสนอจากกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กหลายๆ ข้อเสนอ สอดคล้องกับนโยบายและมาตรการที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำลังดำเนินการอยู่ ได้แก่ มาตรการห้ามตั้งห้ามขยายโรงงานเหล็กบางประเภท การกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) อาคารโครงสร้างเหล็ก มาตรการที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมเศษเหล็ก รวมถึงการจัดการซากรถยนต์ เป็นต้น โดยจะเร่งรัดผลักดันมาตรการต่างๆ ให้มีผลบังคับใช้โดยเร็วที่สุด เพื่อให้อุตสาหกรรมเหล็กยังคงเป็นพื้นฐานสำคัญในห่วงโซ่อุตสาหกรรมต่อเนื่องภายในประเทศไทย
……………………………………………………. @มองหาโอกาสเติบโตของธุรกิจและแหล่งเงินทุนอยู่ใช่ไหม? มาหาคำตอบได้ในการเรียนหลักสูตร Incubation Program รุ่น 3 : การเตรียมความพร้อม SMEs/Startups เข้าสู่ตลาดทุน
Incubation Program คืออะไร? หลักสูตรให้คำแนะนำเบื้องต้นสำหรับผู้ที่ต้องการขยายธุรกิจให้เติบโตและต้องการระดมทุนได้เข้าใจถึงแนวทางและขั้นตอนต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมในการระดมทุน โดยเน้นการให้ข้อมูลและการแชร์ประสบการณ์จริง ระยะเวลาการเรียน 3 วัน
สิ่งที่ได้รับเมื่อจบหลักสูตร
– ได้รับการประเมินความพร้อมในการขยายธุรกิจและระดมทุนจากตลาดหลักทรัพย์ฯ และ KPMG Thailand
– พิจารณาคัดเลือกเข้าร่วมหลักสูตร Acceleration Program (หลักสูตรการพัฒนากระบวนการทางธุรกิจครอบคลุมทุกมิติให้สามารถระดมทุนได้ระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งจะต้องผ่าน Incubation Program ก่อนเท่านั้น)
อบรมออนไลน์ผ่าน Zoom Meeting รุ่นที่ 3 : วันที่ 29 – 31 มกราคม 2568 รับจำนวนจำกัด ลงทะเบียนได้ที่ https://bit.ly/kftiIncu3
อบรมฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย จัดโดยความร่วมมือระหว่างสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเคพีเอ็มจี ประเทศไทย สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอุตสาหกรรมการผลิต (SMI) โทร. 023451188, 023451093 หรือ 1453
…………………………………. @คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ปรับเพิ่ม GDP ปี 67 ไปได้ถึง 2.8% จับตาผลเลือกตั้งสหรัฐฯ หวั่นกระทบส่งออกไทย เศรษฐกิจไทยปี 2567 มีแนวโน้มขยายตัวได้ที่ 2.6-2.8% สูงกว่าประมาณการเดิม จากแรงขับเคลื่อนของการส่งออกที่ได้รับอานิสงส์จากวัฏจักรขาขึ้นของกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ที่ส่งผลให้การส่งออกสามารถเติบโตได้ 2.5-2.9% สูงกว่าประมาณการเดิม ประกอบกับมีปัจจัยหนุนจากการกระตุ้นกำลังซื้อ และการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐ นอกจากนี้ มาตรการภาครัฐทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ที่กำลังจะทยอยออกมา
เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงชัดเจน คาด GDP โลกทั้งปี 2567 มีแนวโน้มขยายตัวได้ต่ำ เครื่องชี้การผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือนตุลาคมของประเทศสำคัญ ทั้งสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น ต่างหดตัวต่อเนื่อง ขณะที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) มองเศรษฐกิจโลกปี 2567 ยังเติบโตได้ต่ำ โดยคาดว่าจะขยายตัวที่ 3.2% ส่วนปีหน้ามีแนวโน้มทรงตัว ทั้งนี้ยังเตือนว่าเศรษฐกิจโลกระยะข้างหน้ายังมีความเสี่ยงจากหลายปัจจัยหลัก ทั้ง (i) การกีดกันทางการค้าที่รุนแรงขึ้น (ii) อัตราเงินเฟ้อที่กลับมาเร่งตัวจากปัญหาด้านภูมิรัฐศาสตร์ และ (iii) ปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนที่แย่กว่าคาด
จับตาผลการเลือกตั้งสหรัฐฯ ซึ่งนัยต่อเศรษฐกิจไทยเบื้องต้น ถือเป็นความเสี่ยงต่อสินค้าไทยที่มีการเกินดุลกับสหรัฐฯ คาดว่าจะกระทบการส่งออกไทยผ่านมาตรการขึ้นภาษีการนำเข้าและการกีดกันทางการค้ารอบใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าที่เกินดุลการค้าสูงและมูลค่าการส่งออกขยายตัวได้ดี เช่น ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ เซมิคอนดักเตอร์ ยางล้อ และกลุ่มสินค้าที่เกินดุลการค้าปานกลางและมูลค่าการส่งออกที่ขยายตัวรวดเร็ว เช่น เครื่องปรับอากาศ โซลาร์เซลล์ เป็นต้น ซึ่งจำเป็นจะต้องติดตามความคืบหน้าของนโยบายเหล่านี้ต่อไป โดยภาครัฐและผู้ประกอบการต้องเตรียมหาแนวทางร่วมกันในการรับมือกับนโยบายที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลง
เศรษฐกิจไทยปี 2567 มีแนวโน้มขยายตัวได้ที่ 2.6-2.8% สูงกว่าประมาณการเดิม จากแรงขับเคลื่อนของการส่งออกที่ได้รับอานิสงส์จากวัฏจักรขาขึ้นของกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ที่ส่งผลให้การส่งออกสามารถเติบโตได้ 2.5-2.9% สูงกว่าประมาณการเดิม ประกอบกับมีปัจจัยหนุนจากการกระตุ้นกำลังซื้อ และการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐ นอกจากนี้ มาตรการภาครัฐทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ที่กำลังจะทยอยออกมา อาทิ การช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและกลุ่มผู้ประกอบการ SME การปรับกฎหมายเกี่ยวกับการเช่าที่ดินระยะยาว 99 ปีเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ถือเป็นกลไกสำคัญในการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างและสร้างความเชื่อมั่นต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า
ในระยะถัดไปเศรษฐกิจมีสัญญาณการฟื้นตัวจากมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อของภาครัฐ อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่ของประเทศ ส่งผลให้เศรษฐกิจและภาคการท่องเที่ยวยังคงฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่ สะท้อนจากผลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประกอบกับปัญหาสินค้าทุ่มตลาดที่ยังคงกดดันยอดขายของผู้ประกอบการในประเทศ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง เช่น มาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวในช่วงปลายปี และมาตรการเพิ่มกำลังซื้อคูณ 2 เช่น E-Receipt เป็นต้น ในช่วงต้นปีหน้าให้กับประชาชน รวมทั้งการเร่งลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อยกระดับศักยภาพเศรษฐกิจในระยะยาว ส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ โดย กกร.สนับสนุนการปรับกฎหมายเกี่ยวกับการเช่าที่ดินระยะยาว 99 ปี และจะมีการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีความเข้าใจในรายละเอียด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อระบบและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศ
กกร.สนับสนุนแนวทางการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน ตามที่สมาคมธนาคารไทย กระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เตรียมออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มเปราะบาง ทั้งรายย่อยและธุรกิจขนาดเล็ก ที่มีภาระหนี้สูง และประสบความยากลำบากในการชำระหนี้ โดยมุ่งช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยสินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถยนต์ และสินเชื่อ SME รายเล็ก ที่มีวงเงินสินเชื่อไม่สูง และมีปัญหาเริ่มค้างชำระ อ้างอิงข้อมูล ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2567 ซึ่งเป็นจุดตั้งต้นในการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ไม่ใช่มาตรการที่มุ่งแก้ปัญหาชั่วคราว โดยทางรัฐบาลจะต้องมีมาตรการในการดึงทุกภาคส่วนเข้าสู่ระบบ รวมถึงฐานข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (NCB) เพื่อให้ทุกฝ่ายทราบถึงภาระและความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ได้ไม่ก่อให้เกิดภาระหนี้เกินกำลังหรือเกินความจำเป็น และเพื่อให้มีข้อมูลในการให้ความช่วยเหลืออย่างตรงจุด เหมาะสมและเป็นธรรม ลดรอยรั่วที่เป็นต้นทุนแฝงในระบบ เช่น การเสริมทักษะแรงงาน เพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น เป็นทรัพยากรขับเคลื่อนธุรกิจ SME พร้อมเสริมศักยภาพการแข่งขัน สร้างแต้มต่อให้กับผู้ประกอบการ SME เช่น มีมาตรการสนับสนุนให้ SME เข้าถึงการประมูลงานภาครัฐ สำหรับแหล่งเงินทุนในมาตรการจะมาจาก 2 ส่วนคือ การลดเงินนำส่งเข้ากองทุน FIDF ทั้งระบบเหลือ 0.23% และเงินสนับสนุนจากภาคธนาคาร โดยรายละเอียดของมาตรการทางธปท.และกระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการพิจารณาและจะเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติต่อไป
……………………………………………… @GS1 Thailand ร่วมกับ SME D Bank ส่งเสริมผู้ประกอบการ SME ใช้บาร์โค้ดมาตรฐานสากล GS1 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการสินค้าช่วยยกระดับสินค้าสู่สากล มอบของขวัญให้กับผู้ประกอบการ SME ด้วยคูปองสนับสนุนค่าสมาชิกบาร์โค้ด ฟรี 1 ปี* จำนวนจำกัด 100 กิจการเท่านั้น❗ กลุ่มเป้าหมาย ผู้ประกอบการ SME ที่มีรายได้ไม่เกิน 50 ล้านบาท และ ผู้ประกอบการที่ประกอบธุรกิจในทุกประเภทอุตสาหกรรมที่ต้องการใช้เลขหมายบาร์โค้ด **สงวนสิทธิ์เฉพาะผู้ที่ยังไม่มีเลขหมายบาร์โค้ดหรือต้องการสมัครเพิ่มอีก 1 ชุดเลขหมาย รับคูปองได้ตั้งแต่วันนี้-15 ธันวาคม 2567 (ยื่นเอกสารและอนุมัติเลขหมายภายใน 25 ธันวาคม 2567) ลงทะเบียนเพื่อขอรับคูปองสนับสนุน https://qrcd.org/6PR4 สแกนดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://qrcd.org/6LGZ สอบถามเรื่องการรับคูปอง คุณเปรมฤดี โทร.02-345-1208 E-Mail:[email protected] สอบถามเรื่องการสมัครบาร์โค้ด ฝ่ายงานสมาชิก โทร. 02-345-1200 E-Mail:[email protected]
…………………………………….@เมื่อวันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน 2567 นายวิเชาวน์ รักพงษ์ไพโรจน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้ต้อนรับ นางแซรัป แอร์ซอย (H.E. Mrs. Serap Ersoy) เอกอัครราชทูตตุรกีประจำประเทศไทย นายเจมิล ชาคาร์ (Cemil Çakar) ประธาน Türkiye-Thailand Business Council และคณะนักธุรกิจจากประเทศตุรกี
โดยได้มีการหารือเกี่ยวกับความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน และได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกับหน่วยงาน Foreign Economic Relations Board (DEİK) ตุรกี โดยเน้นเรื่องของการแลกเปลี่ยนความร่วมมือในอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น ยานยนต์ ชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ เกษตร พลังงานทดแทน เภสัชภัณฑ์ เป็นต้น
นอกจากนี้ ฝ่ายไทยยังได้เชิญชวนให้ทางตุรกีขยายการลงทุนมายังในประเทศไทยมากขึ้น จากข้อได้เปรียบด้านที่ตั้งและสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนเมื่อเทียบกับประเทศอาเซียน ซึ่งทางตุรกีก็ได้เชิญชวนไทยเข้าไปลงทุนในตุรกีเช่นกัน ซึ่งตุรกีเป็นประเทศที่มีนโยบายด้านการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อใช้เป็นกลไกในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เข้มแข็งและมีศักยภาพ อีกด้วย
…………………………………….@สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ขอเชิญร่วมซื้อสลากกาชาดการกุศลสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ลุ้นรับรถยนต์ไฮบริด Toyota Corolla Cross HEV Premium Luxury มูลค่า 1,214,000 บาท และของรางวัลอื่นๆ อีกมากมาย รวมมูลค่าของรางวัลกว่า 1,800,000 บาท เล่มละ 1,000 บาท (1 เล่ม มี 10 ฉบับ)
รางวัลที่ 1 รถยนต์ไฮบริด Toyota Corolla Cross HEV Premium Luxury มูลค่า 1,214,000 บาท จำนวน 1 รางวัลรางวัลที่ 2 ตู้เย็น Mitsubishi 4 ประตู Inverter (19.9 คิว, สีเงินประกาย) มูลค่า 49,990 บาท จำนวน 2 รางวัล
รางวัลที่ 3 เครื่องซักอบผ้าฝาหน้า TOSHIBA 10.5/7 กก. มูลค่า 20,990 บาท จำนวน 3 รางวัล
รางวัลที่ 4 SAMSUNG แอลอีดีทีวี 50 นิ้ว (4K, SMART TV) มูลค่า 12,990 บาท จำนวน 5 รางวัล
รางวัลเลขท้าย 3 ตัว หม้อหุงข้าว DIGITAL TOSHIBA 1.80ลิตร สีขาว มูลค่า 3,090 บาท จำนวน 120 รางวัล
สนใจติดต่อซื้อสลากได้ที่ ฝ่ายทะเบียนสมาชิก ส.อ.ท. ติดต่อซื้อได้ที่เจ้าหน้าที่กลุ่มทุกกลุ่ม เจ้าหน้าที่จังหวัดทุกจังหวัด
และงาน CSR ส.อ.ท. ติดต่อ คุณชานนท์ 02-345-1069 / คุณศุภโชค 02-345-1054 มาร่วมทำบุญพร้อมลุ้นรางวัลใหญ่กับ ส.อ.ท.
…………………………………….@ FTI EXPO 2025 รวมพลังขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทย สู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต ยกระดับอุตสาหกรรมเดิม สู่อุตสาหกรรมใหม่ ก้าวสู่ตลาดสากลอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างโอกาสในการขยายช่องทางการตลาดทั้งในและต่างประเทศ สำหรับนักธุรกิจและนักลงทุนจากทั่วโลก ระหว่างวันที่ 12-15 กุมภาพันธ์ 2568 ณ HALL 5-8 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ
มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงานระดับประเทศ เพื่อเปิดโอกาสให้ธุรกิจของคุณก้าวไกลบนเวทีสากล สร้างแบรนด์สินค้าให้แข็งแกร่งบนเวทีระดับประเทศ สร้างเครือข่ายและพันธมิตรในอุตสาหกรรม สัมผัสประสบการณ์การทำธุรกิจที่แตกต่าง เรียนรู้เทรนด์และนวัตกรรมชั้นยอด
เปิดจองพื้นที่แล้ววันนี้! สามารถสแกนได้ที่ QR code หรือ ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม โทร. 02-345-1121, 02-345-1059
จัดโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) …………………………………….@หน่วยงานที่มีข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดนครสวรรค์สามารถฝากข่าวผ่านสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครสวรรค์ หรือต้องการสมัครเป็นสมาชิกสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครสวรรค์ ติดต่อสอบถามได้ที่ นายชาณัฐธนพล แสงสุข ผู้จัดการสำนักงานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครสวรรค์ โทรศัพท์ 056-245497,081-0428934 โทรสาร056-245498 e-mail: [email protected]