ใกล้จะถึงฤดูร้อนแล้ว อากาศในประเทศไทยช่วงฤดูร้อน มักจะร้อนจนก่อให้เกิดการอึดอัดและไม่สบายตัว บางคนถึงขั้นป่วยได้ จึงจำเป็นต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษในฤดูนี้ โดยเฉพาะในเรื่องของอาหารการกินซึ่งควรเป็นอาหารที่ย่อยง่าย ไม่ก่อให้เกิดความร้อนในร่างกาย และไม่ทำให้เลือดลมเสียสมดุล
- มังคุด มะม่วงสุก แตงโม
ผลไม้เหล่านี้มีฤทธิ์เย็น ฉ่ำน้ำ ช่วยบรรเทาความร้อนในร่างกายได้ดี ที่สำคัญยังมีวิตามินเอสูง และมีกากใยอาหารที่ช่วยลดไขมันในหลอดเลือด และดีต่อระบบขับถ่ายอีกด้วย
2. ชาเขียว
ชาเขียวช่วยคลายร้อนได้ดี ทำให้รู้สึกชุ่มชื่น ควรเลือกแบบน้ำตาลน้อย และไม่เสริมเพิ่มเติมด้วยท็อปปิ้งอื่นๆ เช่น น้ำเชื่อม วิปครีม หรือนมข้นหวาน
- ข้าวแช่
เมนูไทยๆ ที่โบราณเขาคิดมาดีแล้วว่าดีต่อร่างกายในหน้าร้อนจริงๆ นอกจากเราจะได้วิตามินบีจากข้าวแล้ว ยังได้จากกะปิหวาน ไชโป๊ พริก มีวิตามินเอ ช่วยดับร้อนได้ดี ทำให้ผิวเย็น และระบบประสาทสงบอีกด้วย
- มะระ
ตามหลักแพทย์แผนไทยบอกไว้ว่า ถ้าจะดับร้อนด้วยอาหารต้องทานอาหารที่มีรสขมหรือเย็น ซึ่งผักรสขมชนิดนี้ นอกจากจะเป็นยาดับร้อนแล้ว ยังช่วยถอนพิษไข้ ช่วยแก้กระหาย แก้อักเสบ เจ็บคอ บรรเทาอาการร้อนในได้ดีอีกด้วย ซึ่งอาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้มักเป็นกันมากในช่วงฤดูร้อน
- น้ำเปล่า
เมื่ออากาศร้อน ร่างกายเราจะสูญเสียน้ำตลอดเวลา เราจึงต้องดื่มน้ำให้มากๆ เพื่อช่วยป้องกันภาวะร่างกายขาดน้ำและยังช่วยรักษาอุณหภูมิของร่างกายได้ดี
อาหารที่ไม่ควรรับประทานในหน้าร้อน
- ทุเรียน ลำไย ขนุน ผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง
การทานทุเรียน และผลไม้น้ำตาลสูงต้องควบคุมปริมาณโดยไม่ควรทานมากเกินไป เพราะ จะเกิดการสะสมจนอ้วนได้ และอาจส่งผลต่อโรคอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น แต่สำหรับหน้าร้อนแล้ว เราควรลดปริมาณการทานทุเรียนให้น้อยลง เพราะอาจทำให้เป็นแผลร้อนใน เจ็บคอ ไอ มีไข้ ปวดศีรษะ จุกแน่นท้อง ครั่นเนื้อครั่นตัว หรือตาแดงได้
- อาหารมัน อาหารทอด
อาหารจำพวกของมันของทอด เช่น ไก่ทอด ลูกชิ้นทอด กล้วยแขก และอื่นๆ อีกมากมาย ทำให้ร่างกายได้รับพลังงานสูงขึ้น เนื่องจากเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง ยิ่งเมื่อเจอกับอากาศร้อนๆ ทำให้เสี่ยงต่อการร้อนใน เจ็บคอและน้ำหนักเพิ่มขึ้นจนอ้วนได้
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ช่วยเพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกาย แอลกอฮอล์ทำให้ร่างกายรู้สึกร้อนวูบวาบจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเส้นเลือด เนื่องจากร่างกายมีการสูญเสียน้ำมากกว่าปกติและหากมีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ จะทำให้เกิดการเพิ่มแรงดันในโลหิต จนอาจทำให้เส้นเลือดแตก มีผลทำให้เสียชีวิตหรือเป็นอัมพาตได้
- เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
เช่น กาแฟ หรือชา เพราะคาเฟอีนมีฤทธิ์ทำให้เราต้องปัสสาวะบ่อยขึ้น ซึ่งเป็นการขับน้ำออกจากร่างกาย เมื่อร่างกายขาดน้ำจะรู้สึกเพลียแดดได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ฤทธิ์ของคาเฟอีน อาจทำให้เกิดอาการกระวนกระวาย ใจสั่น ดังนั้น จึงควรงดดื่มกาแฟในวันที่ต้องออกไปทำงานกลางแจ้ง หรือถ้าติดกาแฟจริง ๆ ควรดื่มน้ำตามมากๆ
- หอม กระเทียม
เพราะกำมะถันที่อยู่ในหอม กระเทียม จะทำให้ร่างกายร้อนได้ ดังนั้นไม่ควรทานในปริมาณที่มากเกินไป
ข้อมูลจากข้อมูล :นายแพทย์กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ