ผู้อ่านสวรรค์นิวส์และสมาชิกสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครสวรรค์……………………………………. @ นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ สมาพันธ์อุตสาหกรรมเนปาล (Confederation of Nepali Industries: CNI) โดยมี Mr. Rajesh Kumar Agrawal ประธานสมาพันธ์อุตสาหกรรมเนปาลร่วมลงนาม ได้รับเกียรติจากนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และนายเค พี ศรรมะ โอลี นายกรัฐมนตรีเนปาล ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนาม ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
การลงนาม MOU ในครั้งนี้ จัดขึ้นเนื่องในโอกาสที่นายเค พี ศรรมะ โอลี (Rt. Hon. Mr. K P Sharma Oli) นายกรัฐมนตรีเนปาล เดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาล โดยมีการลงนาม MOU เพื่อแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จำนวน 8 ฉบับ กระชับความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว วัฒนธรรม การค้า อุตสาหกรรม การแพทย์ เกษตรกรรม และการศึกษา ดังนี้
- บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวไทย – เนปาล
- ความตกลงทางวัฒนธรรมไทย – เนปาล
- บันทึกความเข้าใจระหว่างสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและสภาหอการค้าเนปาล (Nepal Chamber of Commerce)
- บันทึกความเข้าใจระหว่างคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กับสถาบัน Nepal Netra Jyoti Sangh (NNJS)
- บันทึกความเข้าใจระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กับบริษัท Jantra Agro and Forestry
- บันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยสยามกับมหาวิทยาลัยกาฐมาณฑุ
- บันทึกความเข้าใจระหว่างสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยกับสหพันธ์หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งเนปาล (Federation of Nepalese Chambers of Commerce & Industry: FNCCI)
- บันทึกความเข้าใจระหว่างสภาอุตสาหกรรมและสภาอุตสาหกรรมแห่งเนปาล (Confederation of Nepali Industries: CNI)
การเดินทางเยือนไทยในครั้งนี้ของผู้นำเนปาล เป็นการเยือนครั้งแรกในรอบ 66 ปี โดยไทยและเนปาลมีความสัมพันธ์มาอย่างยาวนาน ซึ่งหวังว่าการเยือนครั้งนี้ จะช่วยกระชับความร่วมมือและเปิดโอกาสใหม่ๆ สำหรับความร่วมมือในอนาคต โดยทั้งสองฝ่ายได้หารือในด้านพลังงาน โดยไทยชื่นชมเนปาลในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่อุดมสมบูรณ์ และการพัฒนาโครงการพลังงานน้ำ ซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องว่าควรส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงานและโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงเสริมสร้างความสะดวกในการดำเนินธุรกิจ ลดอุปสรรคทางการค้า และพัฒนาข้อได้เปรียบทางเศรษฐกิจ เพื่อผลักดันมูลค่าการค้าระหว่างกันให้เพิ่มขึ้นจาก 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปัจจุบัน และไทยสนับสนุนให้ภาคเอกชนขยายการลงทุนในตลาดเนปาลมากขึ้น
ด้านการเชื่อมโยง โดยทั้งสองฝ่ายเห็นถึงความสำคัญของการขยายเส้นทางคมนาคม เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว สนับสนุนการขยายเส้นทางการบินเชื่อมต่อกรุงเทพฯ – กาฐมาณฑุ พร้อมทั้งหารือเกี่ยวกับความเป็นไปได้เปิดเที่ยวบินตรงสู่ลุมพินีอีกด้วย
……………………………………………………. @ กกร. หวั่นภาษี “ทรัมป์” ฉุด GDP ไทยปีนี้อีก 0.2-0.6% จากเป้าเดิม 2.4-2.9% นายทวี ปิยะพัฒนา รองประธานอาวุโสสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) โดยมี ดร.พจน์ อร่ามวัฒนานนท์ ประธานกรรมการหอการค้าไทย และนายกอบศักดิ์ ดวงดี เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย ร่วมในการแถลง ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ มีสาระสำคัญดังนี้
เศรษฐกิจไทยเผชิญหลายปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้ GDP ปี 2568 ต่ำกว่าที่เคยคาด จากกรอบประมาณการเดิมอยู่ในช่วง 2.4-2.9% ซึ่งได้คำนึงถึงผลกระทบบางส่วนจากมาตรการภาษีของสหรัฐฯ ไว้แล้ว แต่ยังมีความไม่แน่นอนถึงขนาดและขอบเขตของมาตรการภาษีของสหรัฐฯ ที่ประกาศในวันพุธที่ 2 เมษายน 2568 ซึ่งอาจจะกระทบต่อ GDP เพิ่มขึ้นอีกราว 0.2-0.6% ฉะนั้นไทยต้องเร่งดำเนินการ ดังนี้ 1) นโยบายระยะสั้น มุ่งลดผลกระทบจากความไม่แน่นอนภายนอก ปรับกรอบนโยบายมหภาคให้เอื้อต่อการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และ 2) นโยบายระยะยาว มุ่งเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้านต่าง ๆ และยกระดับขีดความสามารถของภาครัฐ
จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น ที่ประชุม กกร.ขอเป็นกำลังใจให้กับเจ้าหน้าที่อาสาสมัคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นว่าขณะนี้เป็น Moment of opportunity ในการสร้างความเชื่อมั่นท่ามกลางความไม่แน่นอนรอบด้าน จากทั้งเรื่องของสงครามการค้า และเหตุแผ่นดินไหวที่เพิ่งเกิดขึ้น โดยร่วมกันบูรณาการความร่วมมือ ทั้งในส่วนกระบวนงานของส่วนราชการและองค์กรภาคเอกชนที่ควรมีการปฏิรูป ให้ความสำคัญกับการมีข้อมูลที่ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน ประกอบการพิจารณาแผนการรับมือและการจัดการกับปัญหา ทั้งนี้ เห็นว่า ควรใช้โอกาสที่มีการสำรวจความปลอดภัยของอาคารและสิ่งปลูกสร้างจากเหตุแผ่นดินไหว เปิดเผยข้อมูลการสำรวจอย่างโปร่งใส และตรวจสอบได้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับทุกภาคส่วน รวมถึงนักท่องเที่ยวและนักลงทุนจากต่างประเทศ
มาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ยกระดับขึ้น สหรัฐฯ ดำเนินนโยบายการค้าที่มีความไม่แน่นอนสูง นโยบายสำคัญที่เตรียมจะประกาศใช้ คือ ภาษีศุลกากรตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) และภาษีศุลกากรเฉพาะสินค้า (Specific Tariffs) ซึ่งคาดว่าจะกระทบประเทศคู่ค้าและสินค้าเป็นวงกว้าง คาดว่าจะประกาศใช้กับประเทศที่มีการเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ ในระดับสูง โดยอัตราภาษีศุลกากรตอบโต้จะขึ้นอยู่กับส่วนต่างระหว่างภาษีศุลกากรที่ประเทศคู่ค้าเรียกเก็บจากสหรัฐฯ กับอัตราที่สหรัฐฯ เรียกเก็บ
จับตามาตรการภาษีศุลกากรตอบโต้ (Reciprocal Tariff) กระทบส่งออกไทย โดยไทยถือเป็นประเทศเป้าหมายหนึ่ง เนื่องจากมีส่วนต่างอัตราภาษีศุลกากรและการเกินดุลกับสหรัฐฯ อยู่ในระดับสูง ธุรกิจอุตสาหกรรมที่เน้นการส่งออก เช่น อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และชิ้นส่วน ปิโตรเคมีของไทย อาจเผชิญความเสี่ยงมากขึ้นจากนโยบาย Reciprocal Tariffs ของสหรัฐฯ นอกจากนี้ยังต้องจับตาผลกระทบทางอ้อมผ่านคู่ค้าสำคัญ เช่น จีน ในอุตสาหกรรมที่มีความเชื่อมโยงกับห่วงโซ่อุปทานการผลิตเพื่อส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ ในสัดส่วนสูง นอกจากนี้ ปัญหาสินค้าจีนทะลักเข้ามาไทยอาจรุนแรงขึ้น รวมถึงสินค้าจากสหรัฐฯ ที่ไทยอาจต้องนำเข้าเพิ่มขึ้นหลังการเจรจาการค้า
เศรษฐกิจไทยเผชิญหลายปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้จีดีพีปี 2568 ต่ำกว่าที่เคยคาด จากกรอบประมาณการเดิมอยู่ในช่วง 2.4-2.9% ซึ่งได้คำนึงถึงผลกระทบบางส่วนจากมาตรการภาษีของสหรัฐฯ ไว้แล้ว แต่ยังมีความไม่แน่นอนถึงขนาดและขอบเขตของมาตรการภาษีของสหรัฐฯ ที่ประกาศในวันพุธที่ 2 เมษายน 2568 ซึ่งอาจจะกระทบต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นอีกราว 0.2-0.6% นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยยังอาจถูกกระทบจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ตามนักท่องเที่ยวจีนที่ฟื้นตัวได้ช้าและเหตุการณ์แผ่นดินไหว ฉะนั้นไทยต้องเร่งสร้างความเข้มแข็งจากภายใน โดยเร่งดำเนินการผ่าน 1) นโยบายระยะสั้น มุ่งลดผลกระทบจากความไม่แน่นอนภายนอก ปรับกรอบนโยบายมหภาคให้เอื้อต่อการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และ 2) นโยบายระยะยาว มุ่งเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้านต่าง ๆ และยกระดับขีดความสามารถภาครัฐ
กกร. มีความกังวลต่อนโยบายการปรับโครงการสร้างราคาก๊าซธรรมชาติ (Pool Gas) ที่มีแนวคิดจะผลักภาระต้นทุนราคาก๊าซธรรมชาติไปให้ภาคอุตสาหกรรม เพื่อทำให้ค่าไฟฟ้าลดลง ซึ่งนโยบายดังกล่าวคาดว่าจะทำให้ราคาก๊าซภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นเกือบ 60% จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตภาคอุตสาหกรรมสูงถึง 30,000 ล้านบาทต่อปี ดังนั้น การปรับโครงสร้างราคาพลังงานจึงควรมีการศึกษาความเป็นไปได้และผลกระทบของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนอย่างสมดุล ตลอดจนพิจารณาแนวทางการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุของโครงสร้างพลังงาน ไม่ใช่การโยกตัวเลขหรือผลักภาระต้นทุนพลังงานไปให้อีกภาคส่วนหนึ่ง นอกจากนี้ขอให้พิจารณาช่วงเวลาที่เหมาะสมในการดำเนินการเพื่อไม่ให้เกิดภาระต้นทุนกับการผลิตของภาคอุตสาหกรรม และยังคงให้ความสำคัญกับการดูแลค่าไฟฟ้าสำหรับประชาชนกลุ่มเปราะบาง
…………………………………. @ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) พร้อมด้วย มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการนวัตกรรมต้นแบบ Smart Agriculture Industry (SAI) เพื่อการเรียนรู้และบ่มเพาะแนวทางเกษตรอัจฉริยะ” โดยได้รับเกียรติจากนายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนาม ณ อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาทางด้านการเกษตรของประเทศ ด้วยตระหนักดีว่าประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง สามารถต่อยอดจากฐานความหลากหลายทางทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้ โดยเฉพาะการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตรของไทย โดยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ตลอดห่วงโซ่อุปทานการผลิต เริ่มตั้งแต่กระบวนการเพาะปลูก การขนส่ง การแปรรูปและการสกัดสารสำคัญ รวมถึงการพัฒนาด้านการขายและการตลาด จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนา “โครงการนวัตกรรมต้นแบบ Smart Agriculture Industry (SAI) เพื่อการเรียนรู้และบ่มเพาะแนวทางเกษตรอัจฉริยะ”
“การดำเนินโครงการนี้ ส.อ.ท. จะบริหารจัดการพื้นที่ Sandbox ภายในอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา สำหรับการทดสอบและสาธิตการเพิ่มมูลค่าผลผลิตการเกษตร ผ่านการเชื่อมโยงความต้องการของผู้บริโภค และอุตสาหกรรมแปรรูปมูลค่าสูง รวมถึงการบูรณาการเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ เพื่อเป็นต้นแบบรองรับการขยายผลและถ่ายทอดองค์ความรู้ภายใต้แนวคิด 1 จังหวัด 1 อุตสาหกรรม (One Province One Industry) ไปยังเกษตรกรในภูมิภาคทั่วประเทศ ครอบคลุม 5 ภาค 18 กลุ่มจังหวัด 76 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด ซึ่งจะก่อให้เกิดการสร้างกลไกการทำงานระหว่างเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม รัฐ สถาบันการวิจัย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียงทั้งหมดในห่วงโซ่การผลิตที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตรให้มีมูลค่าสูง ตามแนวคิดเศรษฐกิจแบบ BCG (Bio-Circular-Green) และเกิดโมเดลธุรกิจทางการเกษตรที่มีประสิทธิภาพ ได้มาตรฐาน นำไปสู่ความยั่งยืน”
มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมดำเนินการโครงการฯ เพื่อเป็นต้นแบบแหล่งเรียนรู้และบ่มเพาะแนวทางการเกษตรอัจฉริยะที่ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร ตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจ BCG ให้กับผู้ประกอบการ โดยใช้พื้นที่บริเวณอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติของมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นพื้นที่ Sandbox ในการทดสอบและสาธิตการเพิ่มมูลค่าผลผลิตการเกษตรแบบครบวงจร เป็นต้นแบบความร่วมมือระยะยาวระหว่างมหาวิทยาลัยกับ ภาคอุตสาหกรรม ในด้านการวิจัย วิชาการ การสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรม และการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมอย่างยั่งยืน โดยมหาวิทยาลัยพร้อมให้การสนับสนุนองค์ความรู้ทางการวิจัยและวิชาการ การต่อยอด และถ่ายทอดเทคโนโลยี สร้างความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมระหว่างมหาวิทยาลัย กับ เครือข่ายผู้ประกอบการภาคเอกชน รวมทั้ง ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานด้านวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย เพื่อสร้างกลไกการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรม
“พิธีลงนาม MOU (วันอังคารที่ 1 เมษายน 2568) นับว่าเป็นสัญญาณที่ดี และเป็นอีกก้าวหนึ่งในการผลักดันความร่วมมือการพัฒนาพื้นที่ศาลายา เพื่อสนับสนุนความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมระหว่างมหาวิทยาลัยกับ เครือข่ายผู้ประกอบการและพันธมิตรของ ส.อ.ท. อันจะเป็นการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของ SMEs โดยบูรณาการความรู้และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยกับ ส.อ.ท.”
…………………………………….. @ ข่าวดี! depa Thailand สนับสนุน SME/วิสาหกิจชุมชน/Startup ภาคเหนือตอนล่าง! depa จัดให้ 4 โครงการเด็ด ช่วยธุรกิจคุณก้าวสู่ดิจิทัล: (1) d-Transformation – AI: ยกระดับอุตสาหกรรมด้วย AI รับสูงสุด 200,000 บาท! ติดต่อ 08 9569 3368 (คุณปารนีย์) (2) d-Voucher – AI: คูปองดิจิทัล AI สูงสุด 10,000 บาท! ติดต่อ 09 8091 6469 (คุณปาริชาติ) (3) d-Voucher – IoT: คูปองดิจิทัล IoT สูงสุด 10,000 บาท! ติดต่อ 09 9021 6700 (คุณจิรากร) และ (4) OTOD: พัฒนาชุมชนด้วยดิจิทัล รับสูงสุด 200,000 บาท! ติดต่อ 09 9021 6700 (คุณจิรากร) หรือ 09 9021 6700 (คุณกฤติน) สนใจเข้าร่วมสามารถลงทะเบียนที่ https://short.depa.or.th/qSiWB หรือโทร 09 7978 9767 (เวลาราชการ)
…………………………………….@ กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดช่องทางร้องเรียน “แจ้งอุต” ช่องทางร้องเรียนปัญหาอุตสาหกรรมผ่านไลน์! โดยกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดตัว “แจ้งอุต” แพลตฟอร์มแจ้งปัญหาอุตสาหกรรมผ่าน Traffy Fondue เพื่อเพิ่มความสะดวกให้ประชาชนสามารถแจ้งเรื่องร้องเรียนและติดตามสถานะได้แบบเรียลไทม์
ปัญหาที่สามารถแจ้งได้มี 6 หมวดหลัก ได้แก่ โรงงาน (กลิ่นเหม็น เสียงดัง ฝุ่นละออง) / อ้อย (เผาอ้อย รถบรรทุกน้ำหนักเกิน) / เหมือง (ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ) / มาตรฐานสินค้า / บริการอุตสาหกรรม / ปัญหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
“แจ้งอุต” ไม่ใช่แค่ช่องทางรับเรื่อง แต่เป็นอาวุธสำคัญในการกำจัดอุตสาหกรรมสีเทา โรงงานเถื่อน และผู้ประกอบการไร้ความรับผิดชอบ! เริ่มใช้งานมาตั้งแต่ 30 มกราคม 2568 แจ้งเรื่องง่ายๆ ผ่าน QR Code หรือ Line ID: “traffyfondue”
……………………………………….@ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครสวรรค์ ขอเชิญร่วมกิจกรรม “สัปดาห์ให้บริการประชาชน” เนื่องใน วันข้าราชการพลเรือน ประจำปี 2568 ระหว่างวันที่ 1 – 30 เมษายน 2568 ณ กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครสวรรค์ โทร 0 5622 2231 กด 3 หรือ Online Service ช่องทางการสมัครเข้ารับบริการ สามารถลงทะเบียนได้ที่ https://line.me/ti/p/U4Dov3Nd9y โดยบริการออกแบบโฆษณา ออนไลน์ เพื่อใช้ในการโฆษณา ยิงแอด ในแพลตฟอร์ม Facebook TikTok Shopee Lazada ให้แก่ผู้เข้ารับบริการ ดังนี้ ผู้ประกอบการใน จ.นครสวรรค์, วิสาหกิจชุมชน / ผู้ประกอบการ OTOP, ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชน “ข้าราชการ พร้อมให้บริการด้วยใจ เพื่อประชาชนทุกคน”
…………………………………@ ‘MSME National Awards 2025’ การประกวดรางวัลสุดยอด SME แห่งชาติ ครั้งที่ 17 ปี 2568 เปิดโอกาสให้ธุรกิจของคุณโดดเด่นทั้งวงการธุรกิจในประเทศไทย และระดับนานาชาติ สมัครเพื่อคว้าตำแหน่งสุดยอด SME แห่งชาติ และเปิดประตูสู่โอกาสใหม่ๆ ที่รอคุณอยู่! รับสิทธิประโยชน์มากมายจากการเข้าร่วมโครงการ อาทิ: ตรวจสุขภาพธุรกิจเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งและพร้อมสู่การแข่งขัน โอกาสศึกษาดูงานองค์กรธุรกิจชั้นนำระดับประเทศ เข้าร่วมดูงานและ Business Matching ต่างประเทศ สร้างเครือข่ายทางธุรกิจผ่านหลักสูตร executive course รับสมัครเริ่มต้นแล้ววันนี้ – 28 พฤษภาคม 2568 สมัครออนไลน์ได้ที่: https://www.smenationalawards.com/ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่: น.ส.เยาวดี อนุพันธ์โยธิน (ต่าย)โทร 083-038-3709 Facebook Fan Page: https://www.facebook.com/smesnationalawards
………………………………….@ หน่วยงานที่มีข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดนครสวรรค์สามารถฝากข่าวผ่านสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครสวรรค์ หรือต้องการสมัครเป็นสมาชิกสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครสวรรค์ ติดต่อสอบถามได้ที่ นายชาณัฐธนพล แสงสุข ผู้จัดการสำนักงานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครสวรรค์ โทรศัพท์ 056-245497,081-0428 934 โทรสาร 056-245 498 e-mail: [email protected], https://www.facebook.com/Nakhonsawan.fti